วันพฤหัสบดีที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ชนิดของสายสัญญาณ

ตัวกลางหรือสายเชื่อมโยง เป็นส่วนที่ทำให้เกิดการเชื่อมต่อระหย่างอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งลักษณะของตัวกลางต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้

1) สายคู่บิดเกลียว

สายคู่บิดเกลียว (twisted pair) แต่ละคู่สายทองแดงจะถูกพันกันตามมาตรฐานเพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงภายในเคเบิลเดียวกันหรือจากภายนอก เนื่องจากสายคู่บิดเกลียวนี้ยอมให้สัญญาณไฟฟ้าความถี่สูงผ่านได้ถึง 10 Hz หรือ 10 Hz เช่น สายคู่บิดเกลี่ยว 1 คู่ จะสามารถส่งสัญญาณเสียงได้ถึง 12 ช่องทาง สำหรับอัตราการส่งข้อมูลผ่านสายคู่บิดเกลียวจะขึ้นอยู่กับความหนาของสายด้วย กล่าวคือ สายทองแดงที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางกว้าง จะสามารถส่งสัญญาณไฟฟ้ากำลังแรงได้ ทำให้สามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราส่วนสูง โดยทั่วไปแล้วสำหรับการส่งข้อมูลแบบดิจทัล สัญญาณที่ส่งเป็นลักษณะคลื่นสี่เหลี่ยม สายคู่บิดเกลียวสามารถใช้ส่งข้อมูลได้หลายเมกะบิตต่อวินาที ในระยะทางได้ไกลหลายกิโลเมตร เนื่องจากสายคู่บิดเกลียว มีราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมูลได้ดี แล้วน้ำหนักเบาง่ายต่อการติดตั้ง จึงถูกใช้งานอย่างกว้างขวาง ตัวอย่างคือ สายโทรศัพท์ สายแบบนี้มี 2 ชนิดคือ

ก. สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน (Shielded Twisted Pair : STP) เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นนอกที่หนาอีกชั้นดังรูป เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า


สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน

ข. สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน (Unshielded Twisted Pair :UTP) เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นนอกที่บางอีกชั้นดังรูป mำให้สะดวกในการโค้งงอแต่สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้น้อยกว่าชนิดแรก


สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน

2) สายโคแอกเชียล

สายโคแอกเชียลเป็นตัวกลางเชื่อมโยงที่มีลักษณะเช่นเดียวกับสายทีวีที่มีการใช้งานกันมาก ไม่ว่าในระบบเครือข่ายเฉพาะที่ ในการส่งข้อมูลระยะไกลระหว่างชุมสายโทรศัพท์หรือการส่งข้อมูลสัญญาณวีดิทัศน์ สายโคแอกเชียลที่ใช้ทั่วไปมี 2 ชนิด คือ 50 โอห์ม ซึ่งใช้ส่งข้อมูลแบบดิจิทัล และชนิด 75 โอห์มซึ่งใช้ส่งข้อมูลสัญญาณแอนะล็อก สายโคแอกเชียลจะมีฉนวนหุ้มป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และสัญญาณรบกวนอื่น ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สายแบบนี้มีช่วงความถี่ที่สัญญาณไฟฟ้าสามารถผ่านได้กว้างถึง 500 Mhz  จึงสามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราส่งสูง


ลักษณะของสายโคแอกเชียล 

3)  เส้นใยนำแสง

เส้นใยนำแสง (fiber optic) เป็นการใช้แสงเคลื่อนที่ไปในท่อแก้ว ซึ่งสามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราความหนาแน่นของสัญญาณข้อมูลสูงมาก ปัจจุบันถ้าใช้เส้นใยนำแสงกับระบบอีเธอร์เน็ตจะใช้ได้ด้วยความเร็ว 10 เมกะบิต ถ้าใช้กับ FDDI จะใช้ได้ด้วยความเร็วสูงถึง 100 เมกะบิต เส้นใยนำแสงมีลักษณะพิเศษที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงแบบจุดไปจุด ดังนั้น จึงเหมาะที่จะใช้กับการเชื่อมโยงระหว่างอาคารกับอาคาร ระยะความยาวของเส้นใยนำแสงแต่ละเส้นใช้ความยาวได้ถึง 2 กิโลเมตร เส้นใยนำแสงจึงถูกนำไปใช้เป็นสายแกนหลัก เส้นใยนำแสงนี้จะมีบทบาทมากขึ้น เพราะมีแนวโน้มที่จะให้ความเร็วที่สูงมาก


ลักษณะของเส้นใยนำแสง

ชนิดของ power Supply

Power supplies  มีด้วยกัน 4 ชนิด

1.Unregulated  (หรือเรียกอีกอย่างว่า brute force)
     Unregulated  power  supply  นั้นเป็นแบบธรรมดา ซึ่งประกอบไปด้วย transformer, rectifier และ low-pass filter โดยทั่วไป power supplies ชนิดนี้ จะจ่ายค่า voltage ไม่คงที่ และยังมีสัญญาณ AC มารบกวนในขณะที่จ่ายไฟ DC   ถ้าค่าอินพุท voltage ไม่คงที่ ก็จะทำให้ค่าเอาท์พุท voltage ที่จ่ายออกมาไม่คงที่ไปด้วย
 ข้อดี ของ unregulated supply  ก็คือ ราคาถูก ใช้งานง่าย  และมีประสิทธิภาพ

2.Linear regulated
     Linear regulated supply  ก็คือ  unregulated  power  supply  ตามด้วยวงจรทรานซิสเตอร์ที่ทำงานในโหมด "active"  หรือ "linear"  ด้วยเหตุนี้จึงได้ชื่อว่า linear regulator โดยทั่วไป linear regulator ถูกออกแบบมาให้จ่ายค่า voltage ตามที่กำหนดสำหรับ input voltages ย่านกว้าง และมันจะลดค่า input voltage ที่เกินมาเพื่อให้สามารถจ่ายค่า output voltage สูงสุดให้แก่โหลด ผลจากการลดค่า input voltage ที่เกินมา  แสดงออกมาในรูปของความร้อน แต่ถ้า input voltage ลดต่ำลง จะทำให้วงจรทรานซิสเตอร์สูญเสียการควบคุม นั้นหมายถึงว่ามันไม่สามารถรักษาระดับ voltage มันทำได้เพียงแค่ลดค่า voltage ที่เกินมาเท่านั้น ไม่ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาเรื่องการลดลงของ voltage ที่มาจากภาค brute force ของวงจร เพราะฉะนั้นท่านต้องรักษาระดับของ input voltage ให้สูงกว่า output ที่ต้องการอย่างน้อย 1 ถึง 3 volts ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของ regulator นั้นหมายถึงว่าพลังงานได้จากวงจร regulator จะมีค่าเท่ากับ อย่างน้อย 1 ถึง 3 volts คูณกับกระแสของโหลดทั้งหมด และปลดปล่อยความร้อนออกมามาก จากสาเหตุนี้ทำให้ regulated power supplies ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ และจากการที่ต้องระบายความร้อยที่เกิดขึ้นทำให้มันต้องใช้ตัวระบายความร้อนขนาดใหญ่ส่งผลให้มันมีขนาดใหญ่  หนัก และ ราคาแพง

3.Switching
     Switching regulated power supply ("switcher")   เกิดจากความพยายามรวมข้อดีของการออกแบบทั้ง brute force and linear regulated power supplies ( เล็ก , มีประสิทธิภาพ , และถูก  อีกทั้งยัง "สะอาด", voltage ที่จ่ายออกมาก็คงที่ ) การทำงาน ของ switching power supplies ใช้วิธีการปรับค่าของ AC power line voltage ที่เข้ามาให้เป็น DC แล้วเปลี่ยนมันให้เป็น square-wave AC ที่มีความถี่สูง  โดยผ่าน transistors ที่ทำงานเหมือนสวิทช์เปิด-ปิด แล้วปรับค่า AC voltage ขึ้น-ลง โดยใช้ lightweight transformer จากนั้นเปลี่ยนค่า AC output ให้เป็น DC แล้วกรองสัญญาณก่อนจ่ายค่าออกไป การปรับค่า voltage ทำได้โดยการปรับที่ หม้อแปลงด้าน primary เพื่อเปลี่ยน duty-cycle ของ DC-to-AC inversion เหตุผลที่
switching power supplies มีน้ำหนักเบากว่าแบบอื่นก็เนื่องมาจากแกนของหม้อแปลงที่มีขนาดเล็กกว่า
 ข้อดี ของ Switching power supplies ที่ทำให้มันเหนือกว่า 2 แบบแรกคือ power supply แบบนี้สามารถใช้ได้กับระบบไฟฟ้าทุกแบบที่มีในโลกนี้ ด้วยเหตุนี้มันจึงถูกเรียกว่า "universal" power supplies.

     ข้อเสีย ของ switching power supplies คือมันค่อนข้างซับซ้อนมากกว่า และ ดูจากการทำงานของมันจะเห็นว่ามันจะทำให้เกิดสัญญาณรบกวน AC ที่มีความถี่สูงกับสายไฟมาก Switching power supplies ส่วนใหญ่เวลาจ่ายค่าออกมาก็มี voltage ไม่คงที่เช่นกัน Switching power supplies ที่มีราคาถูกนั้นก็มีสัญญาณรบกวนและค่าไม่นิ่ง แย่พอๆ กับ unregulated power supply  ถ้าพูดถึงพวก low-end switching power supplies แล้วก็ไม่ถึงกับไม่มีค่า เพราะมันก็ยังสามารถให้ output voltage ที่คงที่ และมีคุณสมบัติของ "universal" input
สำหรับ Swithching power supplies ที่มีราคาแพงนั้น ไฟที่จ่ายออกมาจะนิ่งและ มีสัญญาณรบกวนน้อยพอๆกับ แบบ linear ราคาก็แพงใกล้เคียงกับ linear supplies เหตุผลในการเลือกใช้ switching power supplies ที่มีราคาแพง แทนที่จะใช้ linear power supplies ที่ดีๆ ก็คือในกรณีที่ต้องการใช้กับ universal power system หรือต้องการประสิทธิภาพสูง น้ำหนักเบา  และ ขนาดที่เล็กคือ เหตุผลที่ switching power supplies ถูกใช้อย่างกว้างขวางในพวกวงจรคอมพิวเตอร์ที่เป็นดิจิตอล

4.Ripple regulated
    เป็นการผสมผสานกันระหว่าง "brute force" กับ "switching" โดยรวมเอาข้อดีของทั้งสองแบบไว้ในตัวมันเอง Ripple-regulated power supply เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการออกแบบวงจร linear regulated: "brute force" power supply (transformer, rectifier, and filter) ประกอบไปด้วย ส่วนหน้าของวงจร แต่ทรานซิสเตอร์ก็ทำงานในโหมด on/off (saturation/cutoff) โดยทำหน้าที่ส่งผ่าน DC power ไปยัง คาปาซิสเตอร์ขนาดใหญ่ เพื่อรักษาระดับ output voltage ให้อยู่ในช่วงสูง และต่ำของค่าที่กำหนด เช่นเดียวกับใน switching power supply เมื่ออยู่ในโหมด "active" หรือ "linear" ทรานซิสเตอร์ ที่อยู่ใน ripple regulator นั้นไม่ยอมให้กระแสผ่านไปได้ หมายความว่าจะมีพลังงานเพียงเล็กน้อยที่จะสูญเสียออกมาในรูปของความร้อน อย่างไรก็ตามอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดของวงจร Regulation คือ การกระเพื่อมของ voltage ที่จ่ายออกไปซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น DC voltage ผันผวนระหว่างค่า voltage ที่ตั้งไว้สองค่า รวมถึงการกระเพื่อมของ voltage ที่แปรผันไปตามความถี่ของ กระแสของโหลด ซึ่งจะส่งผลให้การกรองสัญญาณ DC power เป็นไปได้ยาก
วงจร Ripple regulator เมื่อเทียบกับวงจร switcher แล้วจะดูไม่ซับซ้อนเท่า และไม่มีความจำเป็นจะต้องรองรับ voltage สูงๆจาก power line เหมือนกับที่ ทรานซิสเตอร์ของ switcher ต้องรองรับ นี้ทำให้มันปลอดภัยในการใช้งาน

ชนิดของ RAM

ชนิดของ RAM

ชนิดของ RAM 

RAM สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
  1. RAM หลัก (main RAM) สำหรับเก็บข้อมูลทุกประเภทและทำให้ CPU เรียกใช้ได้อย่างรวดเร็ว
  2. RAM แบบ Video (Video RAM) เก็บข้อมูลสำหรับจอภาพ ทำให้ภาพไปที่จอได้เร็วขึ้น
RAM หลัก (main RAM) 
RAM หลักแบ่งออกเป็น Static RAM (SRAM) และ Dynamic RAM (DRAM)
 
Static RAM (SRAM): SRAM มีราคาสูง และใช้พื้นที่เป็น 4 เท่าของ DRAM ในการเก็บข้อมูลที่เท่ากัน มีความแตกต่างจาก DRAM ในเรื่องการใช้ power-refresh ทำให้การเข้าถึงทำได้เร็วกว่า (SRAM มี เวลาในการเข้าถึง 25 nano seconds ในขณะที่ DRAM ใช้ถึง 60 nano seconds ซึ่ง DRAM ได้มีการพัฒนาความเร็วของการเข้าถึงข้อมูล ) SRAM ได้รับการใช้โดยส่วนใหญ่เป็นแคชระดับ 1 และ ระดับ 2 ซึ่ง CPU จะติดต่อกับ SRAM (Cache) ก่อนที่จะติดต่อกับ DRAM
  • Burst (or Synch Burst) Static RAM 
    Burst SRAM ( หรือที่รู้จักกันว่า Synch Burst VRAM) จะ Synchronize กับนาฬิกาของระบบ หรือในบางกรณีกับ cache bus ของนาฬิกา ทำให้สามารถ Synchronize ได้ง่ายกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ลดเวลาการคอย สามารถนำไปใช้เป็นหน่วยความจำแบบ External level -2 cache สำหรับ Chipset ของ Pentium II

Dynamic RAM (DRAM): DRAM ใช้คาปาซิเตอร์ที่ต้องการ power-refresh เพื่อเก็บการชาร์ต เพราะการอ่าน DRAM จะดิสชาร์ตสิ่งที่เก็บไว้ ความต้องการ Power-refresh ภายหลังการอ่านแต่ละครั้ง นอกจากการอ่านแล้ว เป็นการรักษาชาร์ตให้อยู่ในตำแหน่ง RAM จะต้องมีการ refreshed ทุก ๆ 1.5 microsecond และ DRAM มีราคาถูกที่สุดในประเภทของ RAM
  • Fast Page Mode (FPM DRAM) 
    เป็นรูปแบบใหม่ของ RRAM โดย Fast Page Mode DRAM (FPM DRAM) เป็นประเภทธรรมดาของ DRAM ในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล Page Mode DRAM มีลักษณะสำคัญของการเข้าถึง คือ แถวของหน่วยความจำไม่ต้องกำหนดแถวใหม่ สัญญาณของ row access strobe (RAS) จะแอคทีฟเพื่อให้สัญญาของ column access strobe (CAS) มีการเปลี่ยนการอ่านลำดับของเซลล์ เป็นการลดเวลาการเข้าถึง และใช้พลังงานต่ำ Clock timing ของ FPM DRAM จะเป็น 6-3-3-3(3 clock cycle สำหรับการตั้งค่า การเข้าถึง 3 clock cycle สำหรับลำดับแรกและแต่ละครั้งของการแอ็คเซสต่อเนื่องกัน 3 ครั้ง ขึ้นกับการตั้งค่าเริ่มต้น
  • Enhanced DRAM 
    Enhanced DRAM (EDRAM) เป็นการรวม SRAM และ DRAM เป็นแพคเกจเดียวกัน ปกติมักจะใช้เป็นแคช ระดับ 2 รูปแบบส่วนส่วนใหญ่ จะใช้ 256 ไบต์ของ SRAM รวมเข้ากับ DRAM ข้อมูลในการอ่านครั้งแรกจะอ่านจาก SRAM (ด้วยเวลา 15 nanoseconds) ถ้าไม่พบจึงจะไปอ่านจาก DRAM ด้วยเวลา 35 nanoseconds)
  • Extended Data Output RAM หรือ DRAM (EDO RAM หรือ EDO DRAM) 
    EDO RAM หรือ EDO DRAM มีความเร็วสูงขึ้น 25% เมื่อเทียบกับ DRAM มาตรฐาน และเป็นการลดความต้องการใช้หน่วยความจำ แคชระดับ 2
  • Burst Extended Data Out put DRAM (BEDO DRAM) 
    BEDO RAM ปรับปรุง page mode ของ DRAM โดยใช้การสร้างการเลื่อนตำแหน่งคอลัมน์ที่ต่อเนื่องกัน 3 ครั้ง หลังจากคอลัมน์แรกได้รับการระบุ โดย 4 บิต จะถูกอ่านแบบ Brust ใช้ร่วมกับสถาปัตย์กรรมแบบ Dual bank DEDO DRAM ใช้เวลาการเข้าถึงเป็น 4-1-1-1 แต่ Intel และผู้ผลิตรายอื่นนิยมใช้ SDRAM ทำให้ BEDO DRAM ไม่ได้รับการใช้งานมากนัก
  • Nonvolatile RAM (NVRAM) 
    NVRAM เป็น RAM ประเภทพิเศษที่สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ เมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือว่าไฟตกคล้ายกับหน่วยความจำแบบ ROM (Read-only memory) โดยใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ มันสามารถทำงานโดยเขียนข้อมูลและฟื้นฟูจาก EEPROM
  • Synchronous DRAM (SDRAM) 
    SDRAM เป็นชื่อทั่วไป สำหรับ DRAM ประเภทต่าง ๆ ที่ใช้การ Synchronized กับความเร็วนาฬิกาของไมโครโพรเซสเซอร ์เพื่อทำให้มีค่าเหมาะสม แนวโน้มนี้เป็นการเพิ่มจำนวนคำสั่ง ให้การทำงานของไมโครโพรเซสเซอร์ ความเร็วของ SDRAM มีอัตราเป็น MHz แทนที่จะเป็น ns พื่อทำให้สามารถเปรียบเทียบระหว่างความเร็วของบัส และความเร็ว RAM chip โดยการแปลงความเร็วนาฬิกาของ RAM เป็น ns หารด้วยความเร็วของชิป 1 พันล้าน ns เช่น 83 MHz RAM เทียบเท่ากับ 12 ns
  • JEDEC SDRAM 
    JEDEC (Joint Electron Device Engineering Council) SDRAM เป็นมาตรฐานในการผลิต Synchronous DRAM เป็นการใช้สถาปัตยกรรมแบบ dual bank และการเข้าถึงแบบหลาย brust mode ซึ่งสามารถกำหนดไว้ก่อน ชิปแบบ JEDEC DRAM ทำงานได้ที่ 83 MHz หรือ 100 MHz โดย JEDEC DRAM เป็นที่รู้จักกันในชื่อ PC66 SDRAM เพราะความเร็วที่ใช้ครั้งแรกสำหรับการทำงานกับบัสที่ 66 MHz และมีความโดดเด่นจากสถาปัตยกรรม แบบ PC100 ของ Intel
  • PC100 SDRAM 
    PC100 SDRAM เป็น SDRAM ที่ Intel ระบุเป็นข้อกำหนด และ Intel ได้สร้างมาตรฐานนี้เพื่อให้ผู้ผลิต RAM ผลิตชิปให้สามารถทำงานได้กับ Chipset รุ่น i440BX ของ Intel ซึ่ง i440BX ได้รับการออกแบบให้สามารถทำงานกับระบบบัสความเร็ว 100 MHz โดย PC100 SDRAM ทำงานที่ความเร็ว 100 MHz ด้วยรอบการเข้าถึงที่ 4-1-1-1 และมีรายงานกล่าวว่า สมรรถนะของ PC100 SDRAM สูงขึ้น 10-15% ในระบบ Socket 7 ของ Intel (แต่ไม่ใช่ Pentium II เพราะ cache level 2 จะทำงานเพียงครึ่งหนึ่งของความเร็วไมโครโพรเซสเซอร์)
  • Double Data Rate SDRAM (DDR SDRAM) 
    DDR SDRAM ในทางทฤษฎีสามารถทำให้ RAM มีความเร็วอย่างต่ำ 200 MHz มันจะกระตุ้นผลลัพธ์
  • (Output) ทั้งด้าน Rising และ Falling ของ System clock ไม่ใช่เฉพาะด้าน Rising ทำให้เพิ่มศักยภาพผลลัพธ์เป็นสองเท่า ได้รับการคาดหวังว่าผู้ผลิต Chipset ของ Socket 7 สามารถสนับสนุน SDRAM แบบนี้
  • Enhonced SDRAM (ESDRAM) 
    ESDRAM ทำโดยใช้ระบบหน่วยงานแบบ Enhance โดยการเพิ่ม Static RAM (SRAM) เล็ก ๆ ที่ชิป SDRAM มีความหมายว่าการเข้าถึงหลาย ๆ ครั้งจะเร็วขึ้น โดยรูปแบบของ SARM ในกรณีที่ SRAM ไม่มีข้อมูล ใช้บัสขนาดกว้างระหว่าง SRAM และ SDRAM เพราะอยู่บนชิปเดียวกัน ESDRAM ได้เกิดมาเป็นคู่แข่งของ DDR SDRAM ในฐานะชิป SDRAM ที่เร็วกว่า สำหรับไมโครโพรเซสเซอร์แบบ Socket 7
  • Direct Rambus DRAM (DRDRAM) 
    Direct Rambus DRAM เป็นเทคโนโลยีที่เสนอโดย Rambus Inc. ซึ่งเป็นหุ้นส่วนของ Intel มีการสัญญาว่าจะทำให้ RAM มีความเร็วสูงถึง 800 MHz โดยจะมีบัสขนาดเล็กกว่าการออกแบบของ SDRAM ในปัจจุบัน (ใช้ขนาด 16 บิต เปรียบเทียบกับ 64 บิต ของ SDRAM)
  • SyncLink DRAM (SLDRAM) 
    SyncLink DRAM (มีลักษณะคล้ายกับ Direct Rambus DRAM) เป็นการใช้หลักการแบบ Protocol-based ในการใช้วิธีนี้ สัญญาณทั้งหมดของ RAM จะเป็นสิ่งเดียวกัน (ไม่เหมือนกับการแยก CAS, RAS. ตำแหน่งและ data link) เพราะเวลาการเข้าถึงไม่ขึ้นกับการ Synchronize แบบมัลติไลน์ SLDRAM สัญญาว่าจะทำให้ความเร็ว RAM สูงถึง 800 MHz เช่นเดียวกับ Double Data Rate SDRAM, โดย SLDRAM สามารถทำงานเป็นสองเท่าของอัตราความเร็วนาฬิการะบบ Synclink เป็นมาตรฐานอุตสาหกรรมแบบเปิด ซึ่งคาดว่าจะแข่งขันและบางทีเป็นต่อเหนือ Direct Rambus DRAM

Video RAM 

Video RAM ในฐานะ “video RAM” หมายถึงแบบทุกแบบของ RAM ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประเภทภาพ (image) สำหรับการแสดงภาพบนจอภาพ แต่ด้วยความสับสนทำให้ประเภททั่วไปของ Video RAM ทุกประเภทเป็น DRAM ที่ใช้งานด้วยการจัดการแบบพิเศษ video RAM ทำหน้าที่เป็นบัฟเฟอร์ระหว่างไมโครโพรเซสเซอร์กับจอภาพ และมักจะเรียกกว่าเฟรมบัฟเฟอร์ เมื่อภาพถูกส่งไปที่จอ ( ภาพเหล่านี้ ) จะถูกอ่านโดย ตัวประมวลผลในรูปแบบของข้อมูลที่เก็บหลักของ RAM จากนั้นจะเขียนที่ video RAM จาก Video RAM ( เฟรมบัฟเฟอร์ ) ข้อมูลจะถูกแปลงโดย RAMDAC เป็นสัญญาณอนาล็อก เพื่อส่งไปแสดงผลด้วยกลไกการแสดงภาพ เช่น หลอดคาร์โทด (CRT) โดยปกติ video RAM จะติดตั้งมาด้วยขนาด 1 – 2 MB และอยู่ที่การ์ด video หรือกราฟฟิคในเครื่องคอมพิวเตอร์ รูปแบบส่วนมากของ video RAM มักจะเป็น Dual Port ขณะที่หน่วยประมวลผลกำลังเขียนภาพใหม่ จอภาพจะอ่านข้อมูลจาก video RAM เพื่อเตรียมภาพต่อไป การออกแบบเป็น Dual Port เป็นสิ่งแตกต่างที่สำคัญระหว่าง Main RAM กับ video RAM
  • RAMDAC 
    RAMDAC (randomaccess memory digital to analog converte) เป็นไมโครชิป RAMDAC จะติดตั้งใน video adapter ในเครื่องคอมพิวเตอร์ มันจะรวม SRAM ขนาดเล็กเพื่อใช้เก็บตารางสีกับตัวแปลงสัญญาณดิจิตัล 3 เป็นอานาล็อก เพื่อเปลี่ยนภาพแบบดิจิตัลให้เป็นข้อมูลอะนาล็อก สำหรับส่งไปที่ตัวให้กำเนิดสีจอภาพ (display is color qenerator) ได้แก่ แม่สีคือ แดง เขียง และน้ำเงิน ในจอภาพที่ใช้หลอดภาพคาโทด (CRT) สัญญาณอะนาล็อกจะไปที่ยืนดิเลคตรอน แต่ละตัวในจำนวน 3 ตัว ถ้าจอภาพเป็นเทคโนโลยีอื่น สัญญาณจะส่งที่ตรงกับกลไกประเภทนั้น
    ส่วน SRAM ของ RAMDAC บรรจุตารางสี หมายเลขสีในข้อมูลแบบดิจิตัลที่ส่งมาที่ SRAM จะใช้สำหรับการสร้างเป็น 3 ค่า สำหรับสีแดง เขียวและน้ำเงิน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ไปที่ตัวแปลงสัญญาณ Digital-to-analog สัญญาณอะนาล็อกจากตัวแปลงสัญญาณ จะส่งโดยตรงไปยังปืนอิเลคตรอน หรือกลไกของ Image projecting สำหรับการแสดงสีจริง ข้อมูลสีดิจิตัลถูกส่งโดยส่งไปที่ DAC โดยไม่ผ่านตราราง SRAM เพราะไม่มีความจำเป็น
  • Video RAM (VRAM) 
    VRAM ( เป็นอีกชื่อหนึ่งของ Video RAM) มีพอร์ทแบบ Dual port ซึ่งยินยอมให้หน่วยประมวลผลเขียนข้อมูลที่ Video RAM ในเวลาเดียวกันที่ทำการ Refresh จอภาพ
  • Synchronous Graphics RAM 
    Synchronous Graphics RAM (SG RAM) เป็น RAM แบบ clock- Synchronized ที่ใช้กับหน่วยความจำ วิดีโอราคาต่ำ SGRAM ใช้การเขียนแบบ Masked write ซึ่งทำให้สามารถเลือกข้อมูลไปปรับปรุงในการทำงาน และใช้การเขียนแบบ Block write ซึ่งยินยอมให้ข้อมูลของ black ground หรือ foreground ได้รับการจัดการที่มีประสิทธิภาพ SGRAM เป็นพอร์ทเดี่ยว (single port) เป็นส่วนพิเศษของหน่วยความจำวิดีโอ ที่ทำความเร็วเพิ่มขึ้นระดับปานกลาง
  • Window RAM 
    Window RAM (WRAM) ไม่เกี่ยวข้องกับ Microsoft Windows เป็น video RAM ที่มีสมรรถนะสูงมาก มีพอร์ทคู่ (dual ported) และมี bandwidth กว้างขึ้น 25% เมื่อเทียบกับ VRAM แต่มีราคาถูกกว่า WRAM มีส่วนทำให้มีประสิทธิภาพในการอ่านข้อมูล สำหรับการเติมบล็อค และการวาดข้อความ (Text drawing) โดยสามารถใช้สำหรับภาพความละเอียดสูง เช่น 1600 x 1200 pixels สำหรับการแสดงภาพสีจริง
  • Maltibank Dynamic RAM 
    Maltibank Dynamic RAM (MDRAM) เป็น RAM ที่มีสมรรถนะสูง พัฒนาโดย Mosys โดยการแบ่งหน่วยความจำเป็น 32Kb ส่วน หรือ bank ซึ่งสามารถเข้าถึงโดยอิสระ video RAM แบบปกติ เป็นแบบ Monolithic การเข้าถึงเฟรมบัฟเฟอร์ เป็นการเข้าถึงเพียงครั้งเดียว การใช้หน่วยความจำแบบส่วนอิสระจะยินยอมให้การเข้าถึงพร้อม ๆ กันได้ เป็นการเพิ่มสมรรถนะ และมีราคาถูก เพราะไม่เหมือนกับ video RAM แบบอื่น การ์ดสามารถผลิตให้ตรงกับลักษณะของ RAM สำหรับความสามารถในการให้ความละเอียด แทนที่จะต้องการหลายเมกกะไบต์
  • Rambus Dynamic RAM 
    Rambus Dynamic RAM (RDRAM) เป็น video RAM ที่ออกแบบโดย Rambus ด้วยการทำให้บัสมีความเหมาะสม เพื่อเพิ่มความเร็วในการไหลระหว่าง video RAM และ buffer ของเฟรม

ชนิด CPU (เปรียบเทียบ AMD & Intel)

เทียบรุ่น CPU ระหว่าง Intel and AMD


Intel
AMD
High End Processors
Intensive Statistical Analysis, Professional Video and Audio Editing, and Advanced 3-D Gaming
Core i7Phenom II X4
Core i7 คือ processor ตัวใหม่ของ Intel สามารถใช้ได้ทั้งใน PC และ Notebook นอกจากนี้ i7 ยังมีทั้งแบบ 2 และแบบ 4 core รวมทั้งยังรองรับการทำงานในแบบ HyperThreading และ Intel Turbo Boost TechnologyPhenom II X4 คือ processor ตัวใหม่ของ AMD สำหรับตัวนี้มีจุดเด่นในเรื่องของการแสดงผลของ HD quality video ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ Phenom II X4 ยังช่วยในการประหยัดพลังงาน ทำงานได้รวดเร็ว และไม่ร้อนมากขณะทำงานเมื่อเทียบกับ processor ตัวอื่น
Core i5Phenom II X3
Core i5 มีโครงสร้างและการทำงานเหมือนกับ i7 มีทั้งแบบ 2 และ 4 core เป็น processor ที่อยู่ใน class เดียวกับ i7 แต่มีราคาถูกกว่า และ i5 รองรับการทำงาเฉพาะ Intel Turbo Boost Technology เท่านั้นPhenom X3 เป็น processor แบบ triple-core ที่สามารถทำงานในเรื่องของการแสดงผลของ HD quality video ได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนกับ Phenom X4 นอกจากนี้ยังทำงานได้เงียบ และไม่ร้อนมากขณะทำงานเมื่อเทียบกับ processor ตัวอื่น
Core 2 QuadPhenom I X4 & Phenom I X3
Core 2 Quad มีโครงสร้างเหมือนกับ Core 2 Duo แต่มี 4 processing core เพื่อรองรับการใช้งานสำหรับ gaming, video, image processingPhenom I X4 และ Phenom I X3 มี 4 และ 3 core processor ตามลำดับ เป็นแบบ 64-bit และทำงานได้ดีเหมือนกับ AMD’s Hyper Transport bus technology
Core 2 Extreme
Core 2 Extreme มีทั้งแบบ 2 และ 4 core มีลักษณะเฉพาะของรุ่น Extreme รวมทั้ง bus speed ที่เร็วกว่ารุ่น non-extreme นอกจากนี้ยังมี unlocked clock multiplier เพื่อให้สามารถทำการ customization เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ processor ได้



Intel
AMD
Mid Range Processors
Speed & Multitasking, Adobe Creative Suite, and basic 3-D Graphics
Core i3Athlon X2
Core i3 มีโครงสร้างเช่นเดียวกับ i5 และ i7 แต่ i3 เป็น processor แบบ dual core ไม่รองรับการทำงานในแบบ HyperThreading หรือ Intel Turbo Boost Technology แต่ยังสามารถทำงานได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่า Core 2 Duo และราคาถูกกว่าAthlon X2 เป็น duo core processor ใช้ไนการทำงานแบบ multitasking ได้ดี รวมไปถึงงาน graphics และ video
Core 2 DuoTurion X2
Core 2 Duo ประกอบไปด้วย 2 processing core เพื่อให้มีประสิทธิภาพที่ดีกับการใช้งานในด้านของ gaming, video, image processing สำหรับ Notebook ที่ใช้ processor ตัวนี้มักจะบางและประหยัดพลังงานTurion X2 เป็น dual core processor ที่มักจะพบใน notebook ที่มีประสิทธิภาพปานกลางถึงสูง
Pentium Dual Core
Pentium Dual Core เป็น dual core processor ที่เป็นแบบ core micro-architecture เป็น processor ที่มี class ต่ำกว่า Core 2 Duo



Intel
AMD
Economy Processors
Email, Internet Browsing, and Simple Games
CentrinoSempron
Centrino คือ mobile-oriented processor ที่ใช้หลักการออกแบบเดียวกับ Pentium M หรือ Core Duo โดย Centrino ได้รวมเอา wireless networking technology เข้ามาด้วย และมักพบ processor ตัวนี้ใน notebook ขนาดเล็กSempron ถือว่าเป็น processor แบบ single core ที่มีประสิทธิภาพที่ดีเมื่อเทียบกับราคาที่ประหยัด และนอกจากนี้ยังมี feature ที่เกี่ยวข้องกับ security ที่ช่วยในเรื่องการป้องกัน virus หรือ malware
AtomAthlon
Atom มักจะเป็น processor ที่พบใน notebook และ Atom ยังมีคุณสมบัติเด่นในเรื่องของการประหยัดพลังงาน ถ้าเปรียบเทียบกับ processor รุ่นอื่นๆ ของ Intel ถือว่ารุ่นนี้ใช้พลังงานน้อยที่สุดAthlon ถือว่าเป็น processor แบบ single core ที่มีประสิทธิภาพที่ดี ที่สามารถรองรับการใช้งานพื้นฐานได้อย่างครบถ้วน
Celeron
Celeron เป็น processor ที่ Intel ออกแบบมาเพื่อใช้ใน model แบบประหยัดโดยเฉพาะ สามารถรองรับการทำงานพื้นฐานทั้งหมดได้ แต่จะมีความเร็วต่ำ และ cache น้อยกว่า processor รุ่นอื่นๆ ของ Intel ถึงแม้ว่าจะมีจำนวน Ghz เท่ากันแต่ความเร็วก็ต่ำกว่า

Special Features Explained
ในเรื่องของ CPU หรือ processor มีคำศัพท์เฉพาะบางคำที่ใช้ในการอธิบายการทำงานและ function ต่างๆ โดยที่ Intel และ AMD มีคำเฉพาะที่ต่างกันตามตารางด้านล่างนี้
Intel Features

Special Features
Uses
Processors
HyperthreadingOS จะใช้ processor 2 ตัวแทนการใช้ processor เพียงแค่ตัวเดียว เพื่อเพิ่มความเร็วในการทำงานของคอมพิวเตอร์Pentium 4, Core i7
Turbo Boostเทคโนโลยีนี้คือ processor สามารถ overclock ตัวเองให้ทำงานเร็วขึ้นได้ ในขณะที่ความร้อนและคุณสมบัติอื่นๆ ยังอยู่ในมาตรฐานของ processorCore i7, Core i5
ViiV technologyเทคโนโลยีนี้ทำขึ้นมาเพื่อรองรับการทำงานด้าน multimedia โดยที่รองรับ 1080i high-def TV รุ่นล่าสุดคือ 1.7Pentium D, Extreme, Core Duo, Core 2: Duo, Extreme, Quad.
Execute Disable Bitเป็นเทคโนโลยีที่ทำขึ้นมาเพื่อป้องกัน virus ไปติดยัง system โดยมีการทำให้ข้อมูลบางส่วนเป็นแบบ “executable”Intel processors รุ่นที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
vProเทคโนโลยีอันนี้ดีสำหรับคนที่ต้องทำงานหลายๆ เครื่อง Vpro สามารถตรวจสอบ system ได้แม้ว่าจะอยู่ในสถานะ “power-off states” นอกจากนี้ยังสามารถทำการ Synchronizes remote desktop, security, และ feature อื่นๆ สำหรับการทำงานแบบ multi-stationCore Duo, Core 2 Duo

AMD Features

Special Features
Uses
Processors
HyperTransportเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ processor มีความเร็วสูงขึ้นและยังประหยัดพลังงานAMD processors รุ่นที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
Cool’n'Quietเป็นเทคโนโลยีในการลดความร้อนและเสียงดังขณะที่ processor ทำงานและยังประหยัดพลังงานPhenom I & II, Athlon
CoolCoreเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้ notebook สามารถทำงานด้วย battery ได้นานขึ้น โดยจะทำการปิด feature บางอย่างของ processor ที่ไม่ได้ใช้ไปPhenom I & II, Turion
Dynamic Power Managementเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในเรื่องของการประหยัดพลังงาน และลดอัตราการใช้พลังงานPhenom I & II, Turion

อ้างอิงบทความจาก : www.kb.wisc.edu/showroom/page.php?id=492

ชนิด mainboard


อีกหนึ่งประเด็นในการเลือกประกอบคอมพิวเตอร์ นอกจาก CPU แล้ว อันดับต่อมาก็คือ Mainboard หรือบางคนเรียกว่า Motherboard ที่เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยให้ CPU สามารถสื่อสารกับอุปกรณ์อื่นๆได้โดยใช้เมนบอร์ดเป็นตัวกลางควบคุมการทำงานต่างๆของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่กับตัว Mainboard เช่น การ์ดจอ, ฮาร์ดดิสก์, แรม, คีย์บอร์ด, จอแสดงผล ซึ่งล้วนต้องเชื่อมต่อผ่าน Mainboard ทั้งสิ้น และเรียกได้ว่าเมนบอร์ดในปัจจุบันนั้นก็มีให้เลือกซื้อหลายรุ่น หลายขนาดตามควาต้องการของผู้ใช้แต่ละคน บางรุ่นออกแบบมาเอาใจนักเล่นเกมก็อาจจะออกแบบให้รูปร่างหน้าตาดูสวยงาม ใช้สีสันสดใส บางรุ่นออกแบบมาเน้นทำงานก็จะไปให้ความสำคัญกับชุดวัสดุที่ใช้ประกอบแทน เราจึงขอจำแนกขนาดเมนบอร์ดที่นิยมใช้งานกันในปัจจุบัน มาเขียนอธิบายคร่าวๆให้ได้อ่านกัน โดยแบ่งเป็น 5 ชนิดดังนี้



 1.      XL-ATX > เป็น Mainboard ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดา Mainboard ทั้ง 5 ประเภท เนื่องจากมีการติดตั้งชุดอุปกรณ์มาให้จำนวนมาก เช่น พอร์ต SATA และสล็อตการ์ดจอที่มากกว่า Mainboard ทั่วๆไป รองรับการเพิ่มอุปกรณ์ในอนาคตได้เป็นอย่างดี เช่น หากเป็นเมนบอร์ด WorkStation ก็จะรองรับการติดตั้ง CPU ถึง 2 ตัวเนื่องจากมันมีพื้นที่เพียงพอในการติดตั้งอุปกรณ์ลงไป แน่นอนว่าต้องรองรับการใช้งานอย่างเต็มรูปแบบมากกว่า Mainboard ทุกชนิด โดยส่วนใหญ่แล้ว Mainboard ขนาด XL-ATX จะมีขนาดที่ประมาณ  345mm x 263mm ยกตัวอย่างเช่น MSI Z87 XPower

2.      Extended ATX (E-ATX) > มีขนาดเล็กกว่า XL-ATX อยู่พอสมควร ซึ่งจริงๆแล้ว Mainboard ขนาด E-ATX เพิ่งถูกผลิตเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจาก Mainboard บางรุ่นไม่สามารถติดตั้งอุปกรณ์ลงไปได้เพียง จึงได้มีการขยายความกว้างของตัว Mainboard จากขนาด ATX ออกไปเล็กน้อยในขณะที่ยังคงมีความยาวเท่ากับขนาด ATX โดยส่วนใหญ่แล้ว E-ATX จะมาในขนาด 305mm x 270mm ยกตัวอย่างเช่น ASUS Maximus V Extreme

3.      ATX > เรียกได้ว่าเป็นเมนบอร์ดขนาดมาตรฐานที่ทางผู้ผลิตนิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นขนาดที่พอเหมาะที่สุดในการติดตั้งชุดอุปกรณ์ลงไป ส่วนใหญ่มักจะเป็น Mainboard ตั้งแต่ระดับกลางไปจนถึงระดับสูง นอกจากทางผู้ผลิตจะมีการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมสำหรับ Mainboard ระดับ high-end บางรุ่นก็จะข้ามไปใช้ขนาด E-ATX แทน เรียกได้ว่า ATX นั้นรองรับการติดตั้งในเคสทั่วๆไปได้ทั้งหมด ด้านขนาดจะอยู่ที่ประมาณ  305mm x 244mm ที่จะสั้นกว่าขนาด E-ATX อยู่เล็กน้อย ยกตัวอย่างเช่น SuperMicro C7Z87-OCE

4.      Micro-ATX > ลดขนาดลงจากขนาด ATX พอสมควร ซึ่งทางผู้ผลิตมักจะเลือกใช้ Mainboard ขนาดนี้สำหรับ Mainboard ระดับกลางถึงระดับล่าง เช่น กลุ่มคอมพิวเตอร์สำนักงาน, กลุ่ม HTPC ขนาดเล็ก แต่ก็มีบางรุ่นที่มีสเปคระดับ high-end เพียงแต่ย่อขนาดให้อยู่ในรูปแบบ Micro-ATX เท่านั้น โดยจะมีขนาดที่ประมาณ 244mm x 244mm ยกตัวอย่างเช่น ASRock Z87M OC Formula

5.      Mini-ITX > เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ทางผู้ผลิต Mainboard ผลิตออกมาเพื่อใช้ประกอบคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ซึ่งในอดีต Mainboard ขนาด Mini-ITX จะเป็นเพียงชุดคอมพิวเตอร์ประหยัดพลังงาน ไม่ได้เน้นด้านประสิทธิภาพ ติดตั้งชุดอุปกรณ์ได้น้อยชิ้นเนื่องจากขนาดที่จำกัดเพียง  170mm x 170mm แต่ปัจจุบันหลายๆแบรนด์ก็มีการพัฒนาในเรื่องประสิทธิภาพการทำงานเอาใจกลุ่มนักเล่นเกมหรือนักโอเวอร์คล็อกมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ASUS Maximus VI Impact

ที่กล่าวไปข้างบนนี้เป็นเพียงขนาด Mainboard ที่นิยมใช้กันในปัจจุบันเท่านั้น ซึ่งนอกจากนี้ก็ยังมี Mainboard อีกหลายแบบที่เราไม่ค่อยพบเห็นนัก เช่น ขนาด EE-ATX ที่อัพเกรดขนาดให้ใหญ่กว่า XL-ATX ขึ้นไปอีก, ขนาด Proprietary ที่มีลักษณะเป็นแนวยาวสำหรับติดตั้งในเครื่อง Server หรือขนาด Nano-ATX ที่ย่อขนาดให้เล็กลงกว่า Mini-ITX ลงไปอีก สุดท้ายการเลือกซื้อ Mainboard นอกจากจะต้องเลือกซื้อให้สามารถทำงานกับ CPU ได้แล้ว อีกหนึ่งปัจจัยก็คือเรื่องของการรองรับอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ เช่น รองรับการเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์กี่ตัว เสียบการ์ดจอได้อีกตัว พอร์ตใช้งานอย่าง USB, HDMI, DVI เพียงพอรึเปล่า หรือสำหรับผู้ใช้งานระดับ Advance ก็อาจจะดูว่า Mainboard รุ่นนี้ใช้วัสดุอะไร ทนทานกระแสไฟได้ดีรึเปล่า มีอายุการใช้งานยาวนานรึเปล่า ซึ่งวัสดุที่ใช้ก็บ่งบอกได้ในระดับหนึ่ง จุดต่อมาก็เป็นเรื่องของหน้าตารูปลักษณ์ที่มีการพัฒนาให้สวยงามยิ่งขึ้นให้ผู้ใช้ได้เลือกซื้อตามความพอใจ